บิทคอยน์จะหมดจากโลกไปเมื่อไหร่ ? แล้วสายขุดจะเป็นยังไง มาคำนวณเล่นๆกันครับ

สวัสดีครับ ห่างหายไปนานเลยช่วงนี้ผมมีภารกิจหลายอย่างมากๆ เลยไม่ค่อยได้เขียนบทความเท่าไหร่ในพักนี้ วันนี้ผมก็เลยอยากจะหาเวลาว่างๆมาเขียนบทความเกี่ยวกับการคำนวณหาว่าบิทคอยน์มันจะหมดจากโลกไปเมื่อไหร่ :)
โอเคมากันเลยไม่พูดร่ำทำเพลงเยอะ เดี๋ยวบทความนี้จะยาวไป วันนี้ผมจะเล่าพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ของบิทคอยน์คร่าวๆให้ดูนะครับจะได้เห็นที่มาที่ไปกันก่อน
ก่อนอื่นขอออกตัวเลยว่าข้อมูลทั้งหมดที่ผมนำมาวิเคราะห์นำมาจากข้อมูลใน Blockchain.info และข้อมูลจากสถติเดิมๆจากหลายๆแหล่ง ซึ่งผมไม่ขอการันตีว่าทั้งหมดจะต้องตรงเป๊ะๆ ผมแค่จะแสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วบิทคอยน์จะเป็นยังไงเมื่อมันหมดไปจากระบบหลังจากที่ขุดไปหมดแล้ว แล้วก็จะหมดในช่วงไหน โดยการคำนวณผมจะใช้ตัวแปร 4 ตัวก็คือ Difficulty, Halving, New Blocks, Total Bitcoins left to mine ซึ่งค่าที่ผมนำมาคำนวณเป็นค่าคงที่บ้าง และไม่คงที่บ้าง ซึ่งจริงๆมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งก็ต้องคำนวณใหม่อีกรอบ และบางตัวแปรก็ไม่สามารถคาดเดาได้ในอนาคตนะครับ
1. Difficulty
ระดับความยากในการขุดบิทคอยบางท่านอาจจะคุ้นชินดีกับคำๆนี้ ในการทำเหมืองบิทคอยย์นั้นเราต้องเจอกับค่า Diff อยู่ตลอดเวลา ค่านี้มันเกิดขึ้นเพื่อที่จะเอาไว้ป้องกันเทคโนโลยีที่โตเร็วเกินไป เผื่อวันดีคืนดีมีใครก็ไม่รู้สามารถผลิตเทคโนโลยีกำลังสูงที่สามารถถอดรหัสได้อย่างรวดเร็วและทำให้บิทคอยหมดจากโลกไปอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่า Statoshi Nakamoto รู้ดีว่าเทคโนโลยีเป็นอะไรที่ก้าวกระโดดมากๆ มันอดคิดไม่ได้นะว่าอยู่ดีๆจะมีคนแบบ Alan Turing ที่สามารถผลิตเครื่องถอดรหัสจากเครื่อง Enigma จนทำให้อังกฤษสามารถเอาชนะสงครามโซเวียตมาได้ เค้าเลยคิดว่าเค้าต้องมีค่า Diff ที่เอาไว้เพื่อให้การถอดรหัสนั้นยากขึ้นเมื่อมีกำลังขุดในระบบสูงขึ้น (Hashrate) ทุกๆครั้งที่กำลังขุดในระบบได้เพิ่มสูงขึ้น ระบบจะมีการเพิ่มค่า Difficulty อัตโนมัติโดยมันจะเปลี่ยนประมาณ 2 สัปดาห์โดยประมาณ บางเดือนจะอัพเดท 2 รอบ และมากสุด 3 รอบ ดูได้จากรูปด้านล่างนี้ครับ

2. Halving
ด้วยบิทคอยน์แตกต่างกับสกุลเงินที่เราใช้ในปัจจุบัน และเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อในระบบ ท่านศาสดา Satoshi Nakamoto เลยออกแบบวิธีการที่เรียกว่า “Halving” แปลเป็นไทยได้ว่า การลดลงครึ่งหนึ่งของจำนวนรางวัลการขุดที่ได้รับ (Blocks Reward) ซึ่งมันจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี จริงๆมันไม่ได้คำนวนเป็นเวลานะครับ มันคำนวนตามจำนวน Blocks ที่เกิดขึ้น (ทุกๆ 210,000 Blocks) แต่ด้วยเวลาเฉลี่ยของ Blocks ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ เวลาของมันเหมือนกับค่าคงที่มากๆ (ถ้ายังงงไม่เป็นไรอ่านต่อไปเรื่อยๆนะครับ) เราเลยสามารถคำนวณได้ พอคำนวณแล้วจะอยู่ประมาณ 4 ปีนะครับ ซึ่งผมจะไม่ใช้ตัวแปรนี้ในหน่วยของเวลา แต่จะใช้จำนวน Blocks คือ 210,000 แทนนะครับเพื่อความแม่นยำมากยิ่งขึ้นและจะได้รู้ว่าทำไมมันถึงเป็น 4 ปี
โดยเดิมแรกเริ่มบิทคอยน์ให้รางวัลการขุดสำหรับคนที่ถอดรหัสได้สำเร็จอยู่ที่ 1 Blocks = 50 BTC นะครับ เหตุการณ์ Halving เกิดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ผมจะให้ดู Chart ของการ Controlled Supply ของบิทคอยน์นะครับว่าเราอยู่ในช่วงไหน

เมื่อเราดูจาก Chart นี้แล้วก็สามารถคำนวณได้เลยครับว่า ตอนนี้ปี 2017 ที่เขียนบทความอยู่นี้ อีก 52 ปีนั้นคือครั้งที่ 13 ของการ Halving นั้นรางวัลต่อ 1 Blocks นั้นจะอยู่ที่ 0.00610351 BTC สำหรับสายขุด (Miner) ถ้าอยู่ถึงปี 2062 ปีนี้จะเป็นช่วงของการขุดเพื่อหาค่าธรรมเนียมแล้วหล่ะครับ เพราะสังเกตุว่าราลวัลต่อ Blocks นี้เป็นจำนวนที่น้อยมากๆ แล้วจะคุ้มหรือเปล่า อันนี้ผมจะคำนวณให้ในตอนสรุปนะครับ
สำหรับท่านที่อ่านบทความผมอยู่อยากรู้ว่าจะต้อง Halving ไปกี่ครั้งแล้วไปถึงปีไหนก็ง่ายๆเลย เปิดเครื่องคิดเลขขึ้นมาแล้วเอามากด 50 หาร ด้วย 2 แล้วก็กด = ไปเรื่อยๆ จนหน่วยทศนิยมหลักที่ 8 มันเริ่มหายไปนั่นแหละครับ ผมจะไม่บอกว่าเป็นยังไง แต่ลองไปกดกันเล่นๆดูนะครับแล้วจะทึ่งมากๆ :)
3. New Blocks (Per Days)
รายการ Blocks ที่เกิดใหม่นี้ผมจะเริ่มต้นการคำนวณโดยใช้ตัวเลขค่าเฉลี่ยของอัตราการเกิด Blocks ต่อวันมาคำนวณนะครับ ตัวเลขนี้อาจจะมีความผิดพลาดที่สูงผมก็เลยนับสถิติย้อนหลังของวันที่ 20/05/2017 โดยอ้างอิงจากลิ้งนี้ ครับ
แล้วคำนวณหา Blocks ที่เกิดขึ้นต่อวันโดยการนับย้อนหลังไป 10 วันแล้วผมจะใช้ค่าเฉลี่ยมาคำนวณนะครับ โดยค่าที่ผมนับไป 10 วันโดยการกด << Previous ไปเรื่อยๆ คือ 165, 165, 142, 165, 132, 170, 164, 158, 154, 135
ก็จะได้ตัวเลขทั้งหมดมารวมกันแล้วหาร 10 ก็คือ 155 Blocks ต่อวันครับ
ตัวเลขการเกิด Blocks ใหม่นี้ถ้าย้อนกลับไปดูช่วงที่ Bitcoin พึ่งเกิดใหม่ๆ หรือจะไปเริ่มคำนวณที่ Genesis Blocks (Blocks #0) ก็จะเห็น Duration Time ก็ประมาณนี้นะครับไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ จะสังเกตุได้ว่า ถึงแม้ว่า Difficulty จะน้อยหรือสูงแค่ไหน อัตราการเกิด Blocksใหม่ก็จะคงที่อยู่ตลอดเวลา นี้อาจจะเป็นเหตุผลของ Satoshi Nakamoto ที่ต้องการให้การเกิด Supply ของบิทคอยน์ในระบบให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสมที่ควรจะเป็น
4. Total Bitcoins left to mine
บิทคอยทั้งหมดในระบบจะมีได้แค่ 21,000,000 ที่เราทราบกันดี ตอนนี้ BTC ที่ถูกขุดเจอไปแล้วทั้งหมด 16,341,500 BTC ข้อมูล ณ วันที่ May, 21, 2017 นะครับ โดยวิธีการคำนวณว่าขุดไปแล้วทั้งหมดกี่ % ผมก็คำนวณแบบนี้ครับ
((16341500/21000000) * 100) = 77.81 %
โอ้วโหว ผ่านมาแค่ไม่กี่ปี บิทคอยน์ถูกขุดเจอไปแล้วแทบจะเรียกได้ว่า ใกล้ 80% แล้วนะครับ ถ้าเราสังเกตุ เราจะเห็นความสัมพันธ์กับการ Halving จะทำให้เรารู้จริงๆ แล้วช่วงแรกๆ มันจะทำให้บิทคอยน์นั้นขุดเจอง่ายมากๆ แต่ช่วงหลังๆนี้แทบจะเรียกได้ว่ายากขึ้นเป็นหลายเท่าเลยครับ
สังเกตุเห็นอะไรไหมครับ ?
โอเค ถ้าเราดูดีๆ ว่ากราฟที่ผมเอามาให้ดูด้านบนนี้คือกราฟนี้
มันเหมือนกับ….. ?
ใช่แล้วมันคล้ายๆกับ Fibonacci เลยใช่ไหมครับ ถ้าใครยังไม่เข้าใจเรื่อง Fibonacci สามารถไปเปิด Google อ่านได้เลยนะครับเพราะเดี๋ยวบทความนี้จะยาวมากๆ
หลายคนถามว่าถ้าเกิดขุดไปแล้วมันหมดไปแล้วจะทำยังไง… บิทคอยน์จะตายไหม คนจะเลิกนิยมหรือเปล่า ?
ผมต้องบอกไว้ตรงนี้เลยครับว่ากว่าจะไปถึงวันนั้นได้ เราคงตายไปแล้วครับคงเป็นอีกช่วงอายุคน หรือก็คงเป็นรุ่นลูกหรือรุ่นหลานเราครับที่ได้เห็นว่าบิทคอยน์นั้นขุดไปหมดแล้ว ถ้าคุณอ่านที่ผมบอกให้กดเครื่องคิดเลขคุณจะเข้าใจเองครับว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
สรุปครับ
สรุปได้ซักทีเขียนมาตั้งยาว ฮ่าๆ ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้เพื่อให้กับบางคนได้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่าจริงๆแล้วเศรษฐศาสตร์ของบิทคอยน์มันเป็นแบบนี้ครับ ทุกอย่างที่มันเกิดขึ้น มันไม่ได้บังเอิญแต่อย่างใดครับ ทุกอย่างถูกคนวณมาแล้วล่วงหน้า สำหรับคนที่มองว่าสายขุดหรือ Miner จะไม่คุ้มเพราะยิ่งขุดได้น้อยลงเรื่อยๆ เราอย่าลืมไปครับว่า ยิ่งถ้าขุดยากขึ้นนั่นหมายถึง Supply ที่น้อยลง ถ้า Demand เพิ่มขึ้นแสดงว่าราคาบิทคอยน์จะต้องเพิ่มตามอยู่แล้วซึ่งเป็นไปตามหลัก ถ้าต้นทุนส่วนหนึ่งคือค่าไฟ อย่าลืมไปว่าค่าไฟเราจ่ายเป็นเงิน THB ซึ่งมันก็ไม่ได้แพงไปตามบิทคอยน์ เพราะมัน Fix Rate
จริงๆแล้วเราสามารถคำนวณราคาบิทคอยน์แบบคร่าวๆ ได้ด้วยสูตรนี้นะครับ
(( ราคาปัจจุบัน * Halving ) * 2)
ซึ่งไอ้ที่ผมเขียนไว้ด้านบนนี้ผมใช้การคำนวณจากสถิติเดิมที่บิทคอยน์นั้นเคยทำไว้ ซึ่งอาจจะไม่ได้ตรงเป๊ะๆ แต่นั่นก็คือทำให้เรามองภาพออกว่ามันควรจะราคาเท่าไหร่ แต่มันจะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีนะครับอาจจะใช้เวลาหลายเดือน เพราะตามปกติสถานการณ์ในตลาดมักจะมีเหตุการไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ
สมมุติ
  • ครั้งที่ 1 : ราคาบิทคอยน์ก่อนการ Halving ครั้งแรกอยู่ที่ 500 USD รางวัลต่อ 1 Blocks คือ 50 BTC หลังจาก Halving สำเร็จรางวัลต่อ 1 ฺBlocks เหลือ 25 BTC ราคาขยับไปอยู่ที่ 1,000 USD
  • ครั้งที่ 2 : ราคาบิทคอยน์ก่อนการ Halving อยู่ที่ 1,000 USD รางวัลต่อ 1 Blocks คือ 25 BTC หลังจาก Halving สำเร็จรางวัลต่อ 1 Blocks เหลือ 12.5 BTC ราคาขยับไปอยู่ที่ 2,000 USD
อันนี้ก็ยกตัวอย่างให้ภาพคร่าวๆ ประมาณนี้ครับสำหรับ Halving ที่จะมาถึงนี้ก็นับวันรอได้เลยว่า อีก 1129 วันครับ ถ้าคำนวณจากวันนี้ก็คืออีก 3 ปีครับ เพราะล่าสุดก็ผ่านมาแล้ว 1 ปี
ถ้าเราอยากรู้ว่าอีกกี่ปีราคาบิทคอยน์ควรจะอยู่ที่ช่วงราคาไหนก็สามารถใช้สูตรนี้คำนวณหาแบบคร่าวๆ ได้เลยครับ
โอเคครับ ที่ผมได้แปะโป้งเอาไว้ว่าสายขุดจะคุ้มหรือไม่ ผมก็จะไม่ขออธิบายอะไรเพิ่มเติมผมเชื่อว่าพอท่านอ่านมาถึงจุดๆนี้แล้วจะเริ่มเข้าใจไปหมดแล้ว
ด้วยเหตุผลนี้เราจะอนุมาณได้ว่าราคาบิทคอยน์อีกปัจจัยหนึ่ง ราคาเกิดจากการสะท้อนต้นทุนการผลิตที่มีผลพวงมาจากค่าไฟและอุปกรณ์ในการขุดเหมือง ไม่ใช่ปัจจัยทางตลาด 100% สำหรับคนที่บอกว่าบิทคอยน์นั้นราคาเกิดจากการปั่น ผมมองว่าอาจจะเจ้าใจแบบผิดๆ
สุดท้ายนี้ตัวเลขที่ผมเอามาคำนวณเป็นเพียงตัวเลขทางสถิติเท่านั้นไม่ได้จะมีเจตนาเพื่อชี้นำใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้ราคาของบิทคอยน์นั้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเดียว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ในอนาคตเราไม่สามารถรับรู้ได้เลย เพียงแต่ว่าเราเรียนรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ของมันแล้วเราจะมองการลงทุนในบิทคอยน์ได้ดีมากขึ้นครับ บางคนบอกขุดกันยากขนาดนี้ไปสายเทรดดีกว่าไหม อื้มม.. อย่าลืมนะครับว่าสายเทรดนั้นยังมีอีกหลายปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตามก็แล้วแต่ความสามารถและดุลยพินิจของท่านเองว่าสามารถควบคุมความเสี่ยงได้น้อยแค่ไหน วันนี้ขอพอแค่นี้ก่อนเอาไว้มีอะไรเจ๋งๆ จะมาเขียนบล้อคอีกทีนึง ถ้าชอบอย่าลืมกดแชร์ แล้วก็อย่าลืมฝากติดตามด้วยนะ
ที่มา https://medium.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น